น่ารู้ทั่วไป

ข้อควรรู้ทำไมเราต้องมีพินัยกรรม

ข้อควรรู้ทำไมเราต้องมีพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากและซับซ้อนอย่างที่คิด สำหรับทางกฎหมายหรือทนายนั้นมีการสนับสนุนให้ผู้ที่ต้องการแสดงเจตจำนงในการทำพินัยกรรมสามารถทำได้เลย เนื่องจากการที่ไม่ยอมลงมือทำหรือสื่อสารออกมาก็ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจะนำมาซึ่งความยุ่งยากภายหลังอีกหลายประการได้

การทำพินัยกรรมคือ

คำสั่งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายโดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ (ป.พ.พ. มาตรา 1646 – 1648)

การทำพินัยกรรมคือการที่ผู้ที่ต้องการทำพินัยกรรมเพื่อมอบมรดกทรัพย์สินที่มีให้กับทายาทหรือผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามกฎหมาย การทำพินัยกรรมนั้นเป็นการวางแผนเพื่ออนาคตของทั้งผู้ทำและผู้รับเป็นการวางแผนระยะยาว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำไว้เพราะหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้ไม่เสียใจในภายหลัง การทำพินัยกรรมสามารถทำได้โดยง่ายเพียงปรึกษาทนายความที่สามารถให้คำปรึกษาแล้วสามารถทำได้เลย

กรณีที่เจ้าของมรดกไม่ได้ทำพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิ์ได้รับมีลำดับดังนี้

1.ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ
2.บิดามารดา
3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
5.ปู่ย่าตายาย
6.ลุงป้าน้าอา

พินัยกรรมมี 5 ประเภทดังนี้

1.พินัยกรรมแบบธรรมดา

พินัยกรรมประเภทนี้จะต้องมีวัน เดือน ปีในขณะที่ทำด้วยได้ ในรูปแบบนี้ผู้ทำไม่ต้องทำเอง สามารถสั่งให้ผู้อื่นทำ รูปแบบนี้จะมีลักษณะเป็นรูปเล่ม มีพยานอย่างน้อย 2 คน อยู่พร้อมกันขณะนั้น พยานจะต้องลงลายมือชื่อรับรอง หากมีการลบหรือการขูดไว้ทุกแห่งที่มีร่องรอยการแก้ไข

2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

พินัยกรรมประเภทนี้ผู้ทำจะทำการเขียนด้วยลายมือของตัวเองทั้งฉบับ รายละเอียดจะต้องมีวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม มีการลงรายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมโดยไม่ต้องมีพยาน หากมีการแก้ไข ผู้ทำจะต้องมีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ในจุดที่แก้ไขทุกแห่ง

3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารเมือง

พินัยกรรมประเภทนี้จะทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตหรืออำเภอเป็นผู้ดำเนินการ มีผู้ทำพินัยกรรมและมีพยานในการทำพินัยกรรม 2 คน ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน 1 ฉบับ โดยทำการเก็บไว้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอนั้น ๆ

4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ

พินัยกรรมฉบับนี้ผู้ทำสามารถทำเป็นหนังสือ เขียนหรือพิมพ์เองได้ หรืออาจจะให้ผู้อื่นทำให้ก็ได้ โดยมีการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม มีการปิดผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อตามรอยผนึกนั้นด้วย จากนั้นจะนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่นายอำเภอและมีพยานในที่นั้น 2 คน นายอำเภอจะทำการประทับตรา พยานและนายอำเภอจะทำการลงลายมือชื่อพร้อมกัน ถือว่าสมบูรณ์

5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา

ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องมีกรณีที่เป็นพฤติการณ์พิเศษที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ตามรูปแบบการทำพินัยกรรมถือเป็นกรณีฉุกเฉิน อย่างเช่นกรณีที่มีความเจ็บป่วยอาการสาหัส เกิดภาวะสงคราม เจ็บป่วยใกล้ตายเท่านั้นกรณีนี้จะอาศัยพยานในการทำพินัยกรรม 2 คน

การทำพินัยกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญ ต้องมีการวางแผนที่ดีในการทำตั้งแต่เนิ่น ๆ ในเวลาที่สามารถทำได้ เพราะหากมีการเตรียมการไว้จะได้ไม่เสียใจในภายหลังสำหรับผู้ที่ยังอยู่จะได้ง่ายต่อการจัดการดูแลต่อไป ดีกว่าที่จะเป็นเพียงความตั้งใจที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจนอาจก่อให้เกิดเรื่องยุ่งยากได้ในภายหลัง

การทำพินัยกรรมเพื่อมอบมรดกทรัพย์สินที่มีให้กับทายาท